ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (รัสเซีย: ???? I ???????, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น

ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของรัสเซียมหาราช เมื่อซาร์ปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1725 นโยบายของพระองค์ก็ได้รับการสืบทอดต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช (ค.ศ. 1762 - 1796) รัสเซียได้กลายเป็นหนึ่งของประเทศมหาอำนาจยุโรปทิ่ยิ่งใหญ่ และมีบทบาทสำคัญใประวัติศาสตร์ยุโรปจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 (ค.ศ. 1672) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าซาร์อเล็กซิสที่ 1 กับซารีนานาตัลยา นารีสกีนา พระมเหสีองค์ที่ 2 พระมารดาของพระองค์เป็นเด็กหญิงจากครอบครัวขุนนางเล็กๆ มีรสนิยมไปทางประเทศทางยุโรปตะวันตก และไม่เข้มงวดเช่นขุนนางรัสเซียทั่วไป ด้วยเหตุนี้พระนางจึงทรงเฉลียวฉลาด มีกิริยาคล่องแคล่ว จนเมื่อพระนางมีอายุได้ 18 ปี พระเจ้าซาร์อเล็กซิสที่ 1 จึงทรงรับตัวเข้าเป็นมเหสีองค์ที่ 2 และด้วยเหตุดังกล่าวเจ้าชายปีเตอร์จึงทรงเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงมีสติปัญญาเฉียบแหลมตามพระมารดา ต่างกับพระเชษฐาต่างมารดาที่ชื่อว่าพระเจ้าชายเฟโอดอร์ ที่ทรงไม่แข็งแรงและมีความพิการทางพระวรกาย แต่เนี่องจากเป็นพระโอรสของพระมเหสีองค์แรก เจ้าชายเฟโอดอร์จึงทรงได้เป็นซาเรวิชหรือองค์รัชทายาท เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2219 (ค.ศ. 1676) ขณะที่เจ้าชายปีเตอร์มีพระชนมายุเพียง 4 ปี พระเชษฐาต่างพระมารดา พระนามว่า เฟโอดอร์ ซึ่งมีพระชนมายุได้ 15 ปีจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ฉลองพระนามว่า "พระเจ้าซาร์เฟโอดอร์ที่ 3"

นโยบายการปฏิรูปของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชได้สร้างรัสเซียให้เป็นรัฐทันสมัยตามแบบอย่างอารยประเทศทางยุโรปตะวันตก โดยปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ การปกครองทั้งฝ่ายฆราวาสและฝ่ายบรรพชิต สังคม และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

ทรงจัดระบบเศรษฐกิจของประเทศตามระบบพาณิชย์นิยมของตะวันตกโดยห้ามนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ารัสเซีย และเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ในประเทศ เช่น การทอผ้า การต่อเรือ การผลิตอาวุธ สร้างโรงงานถลุงเหล็ก รองเท้า สบู่ ช้องผม ฯลฯ อีกทั้งยังเปิดประเทศต้อนรับช่างผู้ชำนาญงานสาขาต่างๆ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและลงทุนในรัสเซีย ทรงจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐเพื่อให้เอกชนดำเนินการ มีการเกณฑ์และบังคับแรงงานชาวไร่ ชาวนาให้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกระตุ้นให้พวกชุนนางลงทุนในด้านการค้า ในช่างระยะเวลาเพียง 20 ปี ในกรุงมอสโกมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้น 200 แห่ง และขนาดเล็กมากกว่า 2500 แห่ง ทรงละเว้นภาษีแก่โรงงานอุตสาหกรรมเอกชน แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเพิ่มรายได้แก่รัฐด้วยการจัดเก็บภาษีอื่นๆ ในอัตราที่สูง

เรียกเก็บภาษีสินค้าบางชนิดที่ไม่เคยจัดเก็บมาก่อนและให้มีการผูกขาดการค้าในสินค้าบางประเภท เช่น บังเหียนม้า ไพ่ กระจก โลงศพ แตงกวา หรือแม้แต่การอาบน้ำและการแต่งงาน ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) มีพระราชโองการให้จัดเก็บภาษีบุคคล (soul tax) ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมของระบบการเก็บภาษี แต่ก็ทำรายได้ให้แก่ประเทศสูงถึง 4 เท่า มากกว่ารายรับจากภาษีอื่นๆ ส่วนรัฐบาลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อาวุธและผ้า เป็นต้น ผลผลิตของสินค้ารัสเซียได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมากจนรัฐบาลสามารถส่งสินค้า อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ออกไปขายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว และทำรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ก็ถูกนำไปใช้ในการขยายตัวของกองทัพและการทำสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2243 - 2254 (ค.ศ. 1700 - 1711) ได้มีการจัดตั้งงบประมาณแผ่นดินประจำปีด้วยซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรัสเซีย นอกจากนี้ ยังมีการสร้างถนน สะพาน และขุดคูคลองต่างๆ มากมายเพื่อประโยชน์ในการคมนาคมขนส่งสินค้า ส่วนในด้านเกษตรกรรมได้นำกรรมวิธีใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงการเกษตรอันมีผลทำให้ผลิตผล เช่น ข้าวไรย์ ป่าน ปอ ยาสูบ เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศ

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยเฉพาะการถูกบังคับเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มและการถูกเกณฑ์แรงงานก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้ นับแต่ช่วงดังกล่าวเป็นต้นมา รัสเซียจึงต้องเผชิญกับการลุกฮือของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ เช่น ในอัสตราฮาน (Astrakhan) ภูมิภาคกลางและตะวันตกของรัสเซีย และพวกคอสแสคในลุ่มแม่น้ำดอน (Don Cossacks) เป็นต้น ซึ่งซาร์ปีเตอร์มหาราชก็ได้ทรงใช้มาตรการรุนแรงในการปราบปราม มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือกระทรวงเพื่อสอดส่องดูแลและควบคุมประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ ในปี พ.ศ. 2257 (ค.ศ. 1714) พระองค์ได้ทรงออกพระราชโองการกำหนดลักษณะของการก่ออาชญากรรมทางการเมืองซึ่งไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน และรัฐบาลก็กระตุ้นให้มีการแจ้งเบาะแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งผู้แจ้งจะได้รับเงินรางวัลเป็นค่าตอบแทนด้วย

พระเจ้าปีเตอร์ได้ทรงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 เขตแดน (guberny) ได้แก่ มอสโก อินเกอร์แมนแลนด์ เคียฟ สโมเลนสค์ คาซาน อาร์เซนเกล อาซอฟ และไซบีเรีย ทุกเขตแดนยกเว้นมอสโกจะมีข้าหลวงซึ่งเป็นคนสนิทของซาร์ออกไปประจำอยู่ ข้าหลวงดังกล่าวมีอำนาจสูงสุดในเขตแดน ทั้งในด้านการบริหาร ตุลาการ การคลัง ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในลักษณะนี้เป็นการลดอำนาจของขุนนางท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2262 (ค.ศ. 1719) ได้มีการแบ่งเขตแดนออกอีกเป็น 45 มณฑล (ภายหลังเป็น 50 มณฑล) แต่ละมณฑลปกครองโดย "นายทหารข้าหลวง" มีการแบ่งการปกครองเขตมณฑลย่อยลงเป็นเขต (district) และให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดูแลปกครองตามแบบอย่างการปกครองท้องถิ่นของสวีเดน แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็ไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะภาษีบุคคลจึงมอบอำนาจให้ทหารปกครองเขตแทนในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722)

ส่วนพวกขุนนางเก่าถูกบังคับให้มอบมรดกที่ดินแก่บุตรชายคนโตเพียงคนเดียวและให้ส่งลูกชายคนรองๆ เข้ารับราชการทหารและราชการพลเรือน ยกเลิกยศขุนนางระดับสูงที่เรียกว่า “โบยาร์” และให้ใช้ยศเคานต์ (count) และบารอน (baron) แบบยุโรปตะวันตกแทน พวกขุนนางหนุ่มดังกล่าวก็จะถูกส่งตัวไปรับการศึกษาในประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกเพื่อนำเอาความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาประเทศ แต่ขณะเดียวกันซาร์ปีเตอร์ก็ทรงพยายามลดบทบาทของขุนนางโดยทำให้สภาโบยาร์หมดความสำคัญลงด้วย โดยทรงใช้วิธีจัดตั้งสภาองคมนตรี เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา

สภาองคมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 8 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นคนสนิทของพระองค์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งวุฒิสภา ขึ้นตามแบบของสวีเดน ประกอบด้วยสมาชิก 9 คน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารกิจการภายในเกือบทั้งหมด ยกเว้นด้านตุลาการและการทหาร แต่สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ การออก “ทำเนียบตำแหน่ง” (Table of Ranks) ในปี พ.ศ. 2265 ตามแบบอย่างของสวีเดน เดนมาร์ก และปรัสเซีย โดยแบ่งตำแหน่งขุนนางทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน และราชสำนัก ออกเป็น 14 ตำแหน่งด้วยกัน ซึ่งแต่ละตำแหน่งจะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากคุณงามความดีที่ประกอบในราชการเท่านั้น ดังนั้น การออกทำเนียบตำแหน่งซึ่งเท่ากับสานต่อนโยบายเลิกการสืบทอดยศทหาร (mestnichestro) ของซาร์เฟโอดอร์ที่ 3 จึงมีผลให้สามัญชนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นขุนนางได้ ขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานะของขุนนางให้มาเป็นข้าราชการ และยกเลิกอภิสิทธิ์ของขุนนางในการสืบทอดตำแหน่งต่างๆ กันในตระกูลหรือครอบครัว

ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มีพระราชประสงค์ที่จะปฏิรูปคริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ทรงจัดการกับสถาบันขุนนาง โดยเข้าควบคุมและทำให้ศาสนจักรรับใช้รัฐ ระหว่างปี 2242 - 2243 (ค.ศ. 1699 - 1700) ทรงยกเลิกอภิสิทธ์ของพวกนักบวชที่ได้รับการยกเว้นเงินภาษีและเข้าควบคุมศาสนจักรอย่างเข้มงวด ในปี พ.ศ. 2243 ( ค.ศ. 1700) เมื่ออัครบิดรเอเดรียน (Patriarch Adrian) แห่งกรุงมอสโก ประมุขของศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซียสิ้นพระชนม์ลง พระองค์ก็ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะไม่แต่งตั้งพระรูปใดให้ดำรงสมณศักดิ์ดังกล่าวอีก เขตอัครบิดรถูกโอนให้แก่กรมอาราม (Monastery Department) และรายได้ของทรัพย์สินดังกลางก็ตกเป็นของรัฐด้วย ซึ่งพระองค์ก็ทรงนำไปใช้ทำนุบำรุงกองทัพและปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

ในปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซาร์ปีเตอร์ทรงออกพระราชโองการให้พระระดับมุขนายกขึ้นไปทุกรูปต้องถวายสัตย์ปฏิญาณที่จะจงรักภักดีปละรับใช้ซาร์ พระที่ยอมอุทิศตนให้แก่ซาร์และเทศน์ให้ประชาชนเคารพยำเกรงในอำนาจอัตตาธิปไตยก็จะได้รับการส่งเสริมให้มีสมณศักดิ์สูงขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2264 (ค.ศ. 1721) พระองค์ได้ทรงเข้าควบคุมศาสนจักรมากยิ่งขึ้น โดยประกาศยุบตำแหน่งอัครบิดรอย่างเป็นทางการ (ไม่มีการตั้งอัครบิดรแห่งกรุงมอสโกอีกเป็นเวลาเกือบ 200 ปี จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเกิดการปฏิวัติเดือนตุลาคมเพียงเล็กน้อย) และจัดตั้งสมัชชาศักดิ์สิทธิ์ (Holy Synod) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารสูงสุดแทนตำแหน่งอัครบิดร แต่สมัชชาต้องอยู่ใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง (Chief Procurator) ที่เป็นฆราวาสซึ่งมีอำนาจในการยับยั้ง (veto) การออกศาสนบัญญัติหรือการดำเนินงานต่าง ๆ ของสภาศาสนาได้ ขณะเดียวกัน คริสตจักรได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการเพิ่มอำนาจให้แก่ซาร์ โดยสร้างแนวคิดใหม่ว่าซาร์ทรงเป็นผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรให้ปกครองจักรวรรดิ (God’s chosen ruler) ดังนั้น การภักดีต่อพระองค์จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของคริสต์ศาสนิกชนกรีกออร์ทอดอกซ์และเป็นเงื่อนไขอีกข้อหนึ่งของศาสนา

ชาวนาซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งรวมทั้งทาสที่ต่างมีสถานภาพไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ทาสติดที่ดิน (serf) และชาวนารัฐ (state peasants) ทั้ง 2 ต่างมีหน้าที่ในการผลิตพืชผลทางการเกษตรและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอย่างเคร่งครัด ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองก็ถูกแยกออกเป็นพวกทำการค้า (trader) และพวกช่างฝีมือ (artisan) พวกทำการค้าต้องเข้าสังกัดในองค์กรพ่อค้า (merchants’ guild) ส่วนพวกช่างฝีมือต้องเป็นสมาชิกขององค์กรช่างฝีมือต่างๆ ตามที่ตนถนัด ซึ่งนับว่าเป็นหารสวนกระแสของสังคมในยุโรปตะวันตออย่างมากที่องค์กร (guild) ต่างๆ เหล่านี้กำลังสูญหายหรือเสียบทบาทไปจากดินแดนต่างๆ แต่ในรัสเซียองค์กรพ่อค้าและองค์กรช่างฝีมือได้รับสิทธิให้ปกครองดูแลกันเองในรูปแบบของการจัดการบริหารแบบเทศาภิบาล (municipal administration) โดยมีองค์กรบริหารของเมือง (town administration) จัดการดูแลและควบคุมอีกทีหนึ่ง

ส่วนชนชั้นขุนนางซึ่งรวมทั้งขุนนางระดับสูงหรือโบยาร์ สมาชิกสภา คหบดี ข้าราชสำนัก ทหารวัง และอื่นๆ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มชนชั้นขุนนางเดียวกัน เรียกว่า “dvorianin” การมีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ต้องเป็นไปตามความดีความชอบในหน้าที่ราชการที่ได้รับมอบหมาย บุตรหลานของขุนนางถูกบังคับให้เข้ารับราชการตั้งแต่อายุยังน้อย และต้องอยู่ในราชการตลอดชีวิต พวกขุนนางยังถูกบังคับให้โกนหนวดเคราและแต่งเครื่องแบบเลียนแบบชุนนางหรือชนชั้นสูงชาวยุโรปตะวันตก ทั้งยังต้องแสดงความกระตือรือร้นที่จะศึกษาและรับความเจริญก้าวหน้าใหม่ๆ ตลอดจนต้องประพฤติปฏิบัติตามรอยพระจริยาวัตรของซาร์อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง ในการรับราชการดังกล่าวพวกขุนนางจะได้รับที่ดินพร้อมด้วยชาวนาเป็นรางวัลตอบแทน รวมทั้งบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ชั้นบารอนหรือเคานต์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ และเหรียญตรา และที่สำคัญที่สุดคือ อำนาจในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐตามที่กำหนดไว้ในทำเนียบตำแหน่ง

ในปี พ.ศ. 2242 (ค.ศ. 1699) ซาร์ปีเตอร์ก็ทรงคิดประดิษฐ์ธงชาติตามแบบอย่างชาติตะวันตก ประกอบด้วยแถบสีขาว น้ำเงิน แดง ในแนวนอนเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวรัสเซียและของภูมิภาคต่างๆของประเทศ ซึ่งธงสามสีดังกล่าวนี้ก็ได้ใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในช่วเวลางระหว่างที่รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมของรัสเซียที่มีลักษณะเป็นแบบตะวันออกให้เป็นตะวันตกโดยประกาศพระราชโองการให้ประชาชนโกนหนวดเคราทิ้งให้สอดคล้องกับความนิยมของนานาประเทศในยุโรปตะวันตกขณะนั้น เพราะพระองค์ถือว่าหนวดเคราเป็นสัญลักษณ์ของ “โลกเก่า” หรือโลกตะวันออกที่ล้าหลัง หากผู้ใดขัดขืนจะถูกลงโทษ นอกจากนั้นยังทรงนำปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ที่นิยมกันในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์มาบังคับใช้ในรัสเซียในปี พ.ศ. 2242 (ค.ศ. 1699) แทนปฏิทินแบบเก่าที่นับปีตั้งแต่มีการสร้างโลก ซี่งมีปีศักราชมากกว่าปฏิทินตะวันตก 6508 ปี โดยในปฏิทินใหม่ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) เป็นวันเริ่มปีและศักราชใหม่ของรัสเซีย (เดิมใช้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) เพื่อให้นับวันเวลาเดียวกันกับประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้ในปี ดังกล่าวและปีต่อมายังทรงออกประกาศบังคับให้ชาวรัสเซียเปลี่ยนแปลงการแต่งกายจากเสื้อคลุมยาวหลวมรุ่มร่ามไม่กระชับตัว เสื้อคลุมมีขนาดยาวประมาณหัวเข่า พร้อมกับมีการจัดแสดงแบบเครื่องแต่งกายทั้งชายหญิงไว้ในที่สาธารณะ เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งแบบการแต่งกายที่เริ่มนิยมกันในประเทศอังกฤษในปลายราชวงศ์สจ๊วต ผู้ฝ่าฝืนที่ปรากฏตัวที่ประตูเมืองในชุดเสื้อคลุมยาว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ผ่านประตูเมืองจนกว่าจะยอมตัดชายเสื้อคลุมให้มีขนาดสั้นขึ้น

เมื่อปี พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) พระองค์ทรงออกพระราชโองการเก็บ “ภาษีหนวดเครา” กับผู้ที่ฝ่าฝืนซึ่งเห็นว่าหนวดเคราเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าประทานหรือกำหนดให้ผู้ชายต้องมี และการโกนหนวดเคราจึงถือว่าเป็นบาปโดยทรงกำหนดอัตราภาษีหนวดเคราสูงถึง 60-100 รูเบิล กับชนชั้นต่างๆ นับแต่พวกราชสำนัก พ่อค้า ชาวเมือง คนรับใช้ คนขับรถม้า คนขับเกวียน และชาวมอสโกทุกคน (ยกเว้นพวกพระและนักเทศน์) ส่วนชาวนาที่ยากจนก็ถูกกำหนดให้จ่ายภาษีหนวดเคราครั้งละ 2.5 โคเปก ทุกที่เดินเข้าออกประตูเมืองกรุงมอสโก อีกทั้งได้มีการพิมพ์หนังสือสมบัติผู้ดีชื่อ The Hunourable Miror of Youth (พ.ศ. 2260) ขึ้นเพื่อให้เยาวชนลูกผู้ดีมีสกุลได้เรียนรู้กิริยามารยาทในการเข้าสังคมแบบตะวันตกอีกด้วย

ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ยังทรงให้เลิกธรรมเนียมเทเรมอย่างเด็ดขาดในปี พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) โดยเปิดโอกาสให้สตรีทุกเพศทุกวัยและทุกชนชั้นไม่จำกันแต่เฉพาะสตรีชั้นสูงทั่วจักรวรรดิได้มีโอกาสได้รับการศึกษา มีอิสรภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องถูกเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้านเท่านั้น และอนุญาตให้หนุ่มสาวได้พบกันก่อนการแต่งงาน การยกเลิกธรรมเนียมเทเรมที่เริ่มใช้ในรัชสมัยของราชบิดาของพระองค์อย่างเด็ดขาด ดังกล่าวนี้เท่ากับเป็นการยกฐานะของผู้หญิงรัสเซียให้สูงขึ้นและมีอิสระมากขึ้น และทำให้ผู้หญิงสามารถแสวงหาความรู้และแม้กระทั่งความบันเทิง เช่น เต้นรำ ฟังเพลง ดื่มสุรา เล่นไพ่และอื่นๆ ได้อย่างทัดเทียมผู้ชาย

การส่งเสริมการศึกษา ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 โปรดให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาชาวดัตช์ปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรในภาษาสลาฟหรือรัสเซียให้มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรละตินและกรีกเพื่อความสะดวกในการเขียนและการอ่านมากยิ่งขึ้น ทรงส่งเสริมให้มีการแปลหนังสือและตำราต่างๆ ที่น่าสนใจในสาขาคณิตศาสตร์ การป้องกันประเทศ การสร้างและการเดินเรือ การสงครามและสถาปัตยกรรม และในปี พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) พระเจ้าซาร์ยังทรงกระตุ้นให้รัสเซียออกหนังสือพิมพ์ชื่อ Vedomosti ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศ

นอกจากนี้บุตรหลานของขุนนางต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับและนับแต่ ค.ศ. 1714 เป็นต้นไปก็ไม่อนุญาตให้ชนชั้นขุนนางแต่งงานกันจนกว่าชายหญิงคู่นั้นจะจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นอย่างต่ำ แต่หากไม่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกันด้วย นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตและกระตุ้นให้ชนชั้นขุนนางส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสิ่งต้องห้ามในรัสเซีย อย่างไรก็ดี ในการปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว มีประชาชนอยู่ทั่วไปเพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ แต่ก็กล่าวได้ว่าเป็นการวางรากฐานการศึกษาให้แก่รัสเซียเพื่อสามารถพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

สถาบันการศึกษา ทรงโปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสามัญขึ้นเป็นครั้งแรกในรัสเซียที่เปิดสอนในด้านศิลปะ อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ ตลอดจนโรงเรียนนายทหารบกและทหารเรือ และสถาบันการสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ดัตช์ เยอรมัน เพื่อให้ความรู้แก่ชาวรัสเซียอีกด้วย นำเอาตัวเลขอารบิกมาใช้ สร้างพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด เภสัชสถานตามเมืองต่างๆ และในกองทัพตลอดจนการจัดการสอนการแสดงละคอรแบบตะวันตก เป็นต้น และที่สำคัญได้สถาปนาวิทยาลัยราชสำนักชั้นสูงขึ้นที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ.1724 อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อีกด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2255 (ค.ศ. 1712) พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงย้ายนครหลวงจากกรุงมอสโกไปยังกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอ่าวฟินแลนด์เพื่อเป็น “หน้าต่างแลยุโรป” การสร้างกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้เริ่มขึ้นหลังจากที่รัสเซียสามารถยึดปอลตาวาจากสวีเดนได้ในปี พ.ศ. 2246 (ค.ศ. 1703) โดยมีโดมินิโก เทรซซินี ชาวสวิซ-อิตาลี และต่อมาชอง แบบติสท์ เลอบอลอด ชาวฝรั่งเศสเป็นสถาปนิก ซาร์ทรงชื่นชมศิลปะและสถาปัตยกรรมยุโรปตะวันตกเป็นอันมากและเห็นว่ามีความเหมาะสมกับรัสเซียมากกว่าศิลปะสลาฟที่มีอิทธิพลในรัสเซียมาเป็นระยะเลาอันยาวนาน ดังนั้น ทาสติดที่ดิน นักโทษสงครามและนักโทษอุกฉกรรจ์จำนวนนับแสนจึงถูกเกณฑ์แรงงานไปก่อสร้างเมือง และจำนวนมากได้เสีอชีวิตจากอากาศที่หนาวเย็น โรคภัยไข้เจ็บและการขาดอาหาร ในระยะแรก อาคารต่างๆ สร้างด้วยซุงเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย แต่ต่อมาซาร์ปีเตอร์ทรงให้สร้างด้วยหินเพื่อความคงทนถาวรและสง่างามดังเมืองใหญ่ๆ ในยุโรปตะวันตก ซาร์ปีเตอร์และพระราชวงศ์ทรงย้ายมาประทับ ณ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี พ.ศ. 2253 (ค.ศ. 1710) ก่อนที่จะจัดตั้งเป็นนครหลวงแห่งใหม่ และบังคับให้พวกขุนนางพ่อค้าและเจ้าที่ดินที่ครอบครองทาสติดที่ดินตั้งแต่ 30 ครอบครัวขึ้นไป ต้องไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วย ใน พ.ศ. 2257 (ค.ศ. 1714) ซาร์ทรงออกพระราชโองการห้ามการก่อสร้างอาคารด้วยหินหรืออิฐในที่อื่นๆ ในรัสเซียเพื่อสงวนวัสดุก่อสร้างไว้สร้างอาคารสถานที่ต่างๆ ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ในปี พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) การก่อสร้างพระราชวังปีเตอร์ฮอฟ (Peterhof) ได้สิ้นสุดลง ซึ่งพระราชวังนี้สามารถเปรียบได้กับพระราชวังแวร์ซายในประเทศฝรั่งเศส

ขณะที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างนั้น ในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ได้เสด็จประพาสยุโรปตะวันตกเป็นครั้งที่ 2 โดยทรงเยี่ยมเยียนดูความก้าวหน้าของศิลปวิทยาการในกรุงโคเปนเฮเกน (ประเทศเดนมาร์ก) กรุงอัมสเตอร์ดัม (ประเทศเนเธอร์แลนด์) กรุงเบอร์ลิน (ประเทศเยอรมนี) และกรุงปารีส (ประเทศฝรั่งเศส) ซึ่งพระองค์ทรงมีโอกาสเข้าเยี่ยมพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ขณะพำนักอยู่ในกรุงปารีส ซาร์ปีเตอร์ก็ทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษในความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ จำนวนมาก นอกจากนี้ ซาร์ปีเตอร์ยังทรงได้รับการทูลเชิญให้เป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภาฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อเสด็จนิวัติกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซาร์จึงทรงคิดจัดตั้งราชบัณฑิตยสภาหรือสถาบันวิทยาศาสตร์ขึ้น นอกจากนี้ยังทรงทำให้กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นศูนย์กลางของความเจริญและวัฒนธรรมตะวันตก นครแห่งนี้ซึ่งสร้างขึ้นตามชื่อของนักบุญปีเตอร์ อัครสาวกของพระเยซูยังเป็นอนุสรณ์สถานและสัญลักษณ์ของซาร์ปีเตอร์มหาราชในความพยายามสร้างรัสเซียให้เป็นมหาอำนาจยุโรปและเจริญทัดเทียมอารยประเทศตะวันตก นับแต่นั้นเป็นต้นมา รัสเซียไม่สามารถที่จะหันหลังให้แก่ความเจริญ การแข่งขัน และความขัดแย้งของยุโรปได้อีกต่อไป ส่วนกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเองก็ได้รับการพัฒนาและการขยายตัวในรัชสมัยขององค์ประมุขต่อๆ มา มีการวางผังเมือง การสร้างพระราชวังและอาคารอย่างถาวรสวยงามเป็นระเบียบมากมายจนเสร็จสมบูรณ์เป็น “มหานคร” ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช และเป็น “อัญมณีประดับยอดพระมหามงกุฎ” ของราชวงศ์โรมานอฟจนกระทั่งรัสเซียประกาศยกเลิกระบอบการปกครองแบบอัตตาธิปไตยและสถาบันซาร์ ในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) เวลาประมาณตีสี่ถึงตี่ห้า พระชันษาได้ 52 ปี ครองราชย์สมบัติได้ 42 ปี จากการที่พระเจ้าซาร์ปีเตอร์พยายามว่ายน้ำไปช่วยเหลือพลเมืองที่กำลังจมน้ำ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตในเวลาต่อมา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301